ซีฟโก้ ได้ทำการวิจัยและพัฒนาความรู้ด้านงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะ การอัดฉีดน้ำปูนในเสาเข็ม กำแพงไดอาแฟรมวอลล์ การปรับปรุงคุณภาพดิน และเทคนิคการก่อสร้าง อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยที่บริษัทฯได้ค้นคว้าไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสามารถในทางธุรกิจ แต่ยังสามารถนำไปพัฒนาความรู้ด้านทฤษฎีและยังสามารถใช้เพื่อปรับปรุงวิธีการ ก่อสร้างหรือเทคนิคใหม่ๆแก่อุตสาหกรรมการก่อสร้างอีกด้วย
บริษัทฯได้ให้การสนับสนุนแก่งานสัมมนา การฝึกอบรมและการประชุมทางวิชาการต่างๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการก่อสร้างและการออกแบบโครงสร้างใต้ดิน บริษัทฯยังได้นำผลงาน วิจัยหรือการค้นคว้าไปนำเสนอในงานสัมมนาหรืองานประชุมทางวิชาการที่จัดโดยมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งได้มีการจัดสัมมนาภายใน บริษัทฯอีกด้วย
นอกจากนี้บริษัทฯยังรับนักศึกษาฝึกงานเพื่อให้ฝึกมีความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเพิ่มขึ้น
งานวิจัยที่ทางบริษัทฯค้นคว้าสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการก่อ สร้างให้ได้คุณภาพตามข้อกำหนด สามารถลดระยะเวลาในการก่อสร้าง และช่วยให้การก่อสร้างมีความประหยัดมากขึ้น
โดยส่วนมากข้อมูลงานวิจัยของบริษัทฯได้มาจากการติดตั้งเครื่องมือวัด ในการก่อสร้าง การตรวจวัดข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ การก่อสร้าง และการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยที่ได้ สามารถนำไปใช้กับโครงการต่อๆไปเพื่อพัฒนาให้การก่อสร้างและการ ออกแบบมีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไป


-
> การสร้างมาตรฐานงานก่อสร้างเสาเข็มระบบเจาะเปียกในประเทศไทยที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในยุคโลกาภิวัฒน์
-
> การศึกษาเรื่องผลกระทบต่อแรงเสียดทานของเสาเข็มเจาะจากระยะเวลาก่อสร้างและความหนืดของสารละลายเบ็นโทไนท์
-
> ความเสียหายต่อเสาเข็มเจาะภายหลังการติดตั้ง
-
> ปัญหาในงานเสาเข็มเจาะที่เกิดจากคุณภาพคอนกรีต
-
> การควบคุมคุณภาพเสาเข็มระบบเจาะแห้งโดยเครื่องเจาะแบบสามขา
-
> สมรรถนะของเสาเข็มระบบเจาะเปียกด้วยสารละลายเบ็นโทไนท์ในชั้นดินกรุงเทพ
-
> อันตรายและมาตรการความปลอดภัยในงานเสาเข็มเจาะ
-
> ประสบการณ์การก่อสร้างเสาเข็มเจาะแบบสี่เหลี่ยม
-
> การสำรวจชั้นดินเพื่อการออกแบบเสาเข็มเจาะและสามารถก่อสร้างได้จริง
-
> การติดตั้งชุดอัดฉีดน้ำปูนใต้ปลายเสาเข็มเจาะในชั้นดินกรุงเทพฯ
-
> การประยุกต์ใช้สารละลายโพลีเมอร์ในการก่อสร้างเสาเข็มระบบเจาะเปียกในชั้นดินกรุงเทพฯ
-
> พัฒนาการของการออกแบบและก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบเปียกในประเทศไทย
-
> กำแพงกันดินชนิดขุดและหล่อในชั้นดินกรุงเทพ : ความบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น และการป้องกัน
-
> บทเรียนจากการวิบัติของบ่อบำบัดน้ำเสียยานนาวา
-
> เทคนิคการก่อสร้างปล่องอุโมงค์ลึกโดยใช้ระบบกำแพงพืดกันดินชนิดขุด-หล่อในที่
-
> พฤติกรรมของกำแพงพืดกันดินอย่างบางชนิดขุด-หล่อในที่โครงการอาคารจอดรถใต้ดินในกรุงเทพฯ
-
> กรณีศึกษาเทคนิคงานขุดดินเพื่อก่อสร้างชั้นใต้ดินลึกด้วยระบบก่อสร้างจากบนลงล่าง
-
> ข้อที่ควรคำนึงถึงในการออกแบบโครงสร้างกำแพงพืดกันดินชนิดขุด-หล่อในที่ในงานก่อสร้างใต้ดิน
-
> กรณีศึกษาเทคนิคงานขุดดินเพื่อก่อสร้างชั้นใต้ดินใกล้แนวอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน
-
> การเคลื่อนตัวของกำแพงกันดินที่เกิดจากการขุดดินเพื่อก่อสร้างห้องใต้ดิน
-
> การลดการเคลื่อนตัวของดินโดยใช้วิธีการปรับปรุงกำลังโดยวิธีผสมดินเชิงกลแบบลึก
-
> ความต้านทานความชื้นและน้ำซึมเข้าห้องใต้ดินลึกในชั้นดินกรุงเทพฯ
-
> วิธีการก่อสร้างอาคารชั้นใต้ดินและมาตรการป้องกันความเดือดร้อนรำคาญบริเวณข้างเคียง
-
> การก่อสร้างอาคารจอดรถใต้ดินโรงพยาบาลกลางด้วยวิธีก่อสร้างจากบนลงล่าง
-
> เทคนิคงานก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยก
-
> ประสบการณ์ในการตรวจความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะโดย โซนิก อินเทก กริที เทสติ้ง
-
> น้ำหนักบรรทุกสูงที่สุดเท่าที่เคยทดสอบกับเสาเข็มในชั้นดินกรุงเทพฯ
-
> การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มเจาะลึกมากก่อสร้างในชั้นดินกรุงเทพ โดยวิธี Sonic Logging และการแปลคลื่นสัญญาณ
-
> หลักเกณฑ์การทดสอบเสาเข็มด้วยวิธี โซนิก อินเทก กริที เทสติ้ง
-
> ประสบการณ์งานก่อสร้างเสาเข็มเจาะและโครงสร้างใต้ดินในประเทศไทย